วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

อาชีพในฝัน

          วิศวกรรม ชีวการเเพทย์   สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นสาขาวิชาที่บูรณาการศาสตร์ต่างๆ ต่อไปนี้ วิศวกรรมศาสตร์ ทั้งไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ เครื่องกล อิเล็กทรอนิกส์ นาโน วัสดุ หรือแม้แต่ความรู้ทางวิศวกรรมโยธาก็มีประโยชน์ในสาขานี้ค่ะ รวมถึงความรู้ในสาขาแพทยศาสตร์ ชีววิทยา เคมี ชีวเคมี เภสัชศาสตร์ รังสีวิทยา เทคนิคการแพทย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ เพื่อนำความรู้มาใช้พัฒนาหรือสร้างเครื่องมือ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์โดยเฉพาะก็อย่างที่เรารู้กันอยู่ว่า การรักษานั้นต้องใช้เครื่องมือ ตั้งแต่ตรวจหาโรค วิเคราะห์ผล ลงมือทำการรักษา จนถึงการดูแลไม่ให้กลับมาเป็นโรคอีก เครื่อง  อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิศวชีวการแพทย์

โรคคนเผือก

เกิดจากข้อบกพร่องทางทางพันธุกรรม เนื่องจากความผิดปกติของยีน ที่ทำหน้าที่ควบคุม การสร้างเม็ดสีเมลานินในอวัยวะต่างๆ ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตเม็ดสีเมลานินออกมาได้ คนที่เป็นโรคเผือกจึงมีผิวขาว ผมสีขาว ตาสีขาว ม่านตาสีเทาและโปร่งแสง รูม่านตาสะท้อนแสงออกมาเป็นสีแดง และอาจมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา 
อ่านเพิ่มเติม 

โรคซีสติกไฟโบรซีส

       ซิสติกไฟโบรซิสเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน CFTR (cystic fibrosis transmembraneconductance regulator) โดยการกลายพันธุ์ที่พบบ่อยที่สุดคือการกลายพันธุ์แบบ ΔF508 ซึ่งเป็นการหลุดหายของนิวคลีโอไทด์สามตัว ทำให้ไม่มีการแปลรหัสเป็นกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน (F) ที่ตำแหน่งที่ 508 ของโปรตีนนี้ การกลายพันธุ์นี้เป็นสาเหตุประมาณ 66-70% ของผู้ป่วยโรคนี้ทั้งหมดทั่วโลกและประมาณ 90% ของผู้ป่วยโรคนี้ในสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดียังมีการกลายพันธุ์อีกกว่า 1500 แ อ่านเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โรคทางพันธุกรรม

      โรคทางพันธุกรรม หรือ โรคติดต่อทางพันธุกรรม เป็น โรคที่เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดพันธุกรรมของฝั่งพ่อและแม่ หากหน่วยพันธุกรรมของพ่อและแม่มีความผิดปกติแฝงอยู่ โดยความผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากการผ่าเหล่าของหน่วยพันธุกรรมบรรพบุรุษ ทำให้หน่วยพันธุกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมได้ 

            ทั้งนี้ โรคทางพันธุกรรม นี้ เป็นโรคติดตัวไปตลอดชีวิต ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดย โรคทางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม 2 ประการ คือ ความผิดปกติของออโตโซม (โครโมโซมร่างกาย) และความผิดปกติของโครโม อ่านเพิ่มเติม 

โรคปอดฝุ่นหิน

        โรคปอดฝุ่นหิน หรือ โรคซิลิโคสิส (silicosis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจาก การสูดหายใจเอาฝุ่นทรายหรือฝุ่นหินต่างๆ ที่มีสาร ซิลิคอนไดออกไซด์หรือเรียกว่าผลึกซิลิก้าเข้าไปในปอด ซึ่งส่วนมากจะพบในหินทราย โดยเฉพาะฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.05-5 ไมครอน ซึ่งสามารถเข้าไป อยู่ในถุงลมปอดได้ โดยจะถูกเม็ดเลือดขาวในปอดจับกิน และมีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื้อปอด ซึ่งต่อมาจะก่อให้เกิดพังผืดที่เนื้อปอด เมื่อยัง คงหายใจเอาฝุ่นที่มีซิลิกอนไดออกไซด์เข้าไปในปอดอย่างต่อเนื่องมากขึ้น และการป้องกันควบคุมไม่เหมาะสม ในที่สุดจะทำให้เนื้อปอดเสีย เป็นวงกว้าง จนทำให้ปอดไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อ่านเพิ่มเติม

โรคปอดฝุ่นฝ้าย คืออะไร?


            โรคปอดฝุ่นฝ้าย หรือ บิสสิโนสิส (Byssinosis) เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังที่เกิดจากการสูดหายใจเอาใยของฝ้าย ป่าน ปอ ลินิน และฝุ่นผงของพืชเข้าไปในปอด ทำให้มีอาการต่าง ๆ ทางระบบทางเดินหายใจ ถือเป็นหนึ่งในโรคปอดจากการประกอบอาชีพ (Pneumoconiosis) 

ใครคือกลุ่มเสี่ยงในเมื่อเป็นโรคที่เกิดจากการสูดเอาใยของสิ่งทอต่าง ๆ เข้าไป ดังนั้นแล้วกลุ่มคนที่เสี่ยงที่สุดคือ คนงานในโรงงานทอผ้าและสิ่งทอต่าง ๆ ที่ใช้ฝ้าย ป่าน ปอ หรือลินิน เป็นวัตถุดิบในการผลิต รวมทั้งผู้ที่ทำงานตัดเย็บเสื้อผ้า ทำกระสอบ พรม ผ้าห่ม หมอน อ่านเพิ่มเติม  

โรคตาบอดสี

  ตาบอดสี หรือที่เรียกว่า colour blindness เป็นอาการที่ตาของผู้ป่วยแปรผลแปรภาพสีผิดไป จากผู้อื่นที่เป็นตาปกติ ตาเป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม หากเกิดความ ผิดปกติไม่ว่า จะเป็นเรื่องใดที่มีผลกระทบต่อการมองเห็น บุคคลนั้นๆ ย่อมได้รับผลกระทบไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง ภาวะตาบอดสีเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคมมากพอสมค อ่านเพิ่มเติม 

โรคฮีโมฟิเลีย

       โรคฮีโมฟิเลีย คือโรคเลือดออกไหลไม่หยุด หรือ เลือดออกง่ายหยุดยาก เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้าผิดปกติ ที่พบบ่อยมี 3 ชนิด ได้แก่
1. ฮีโมฟิเลีย เอ เกิดจากการขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (factor VIII) และมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ X-linked recessive
2. ฮีโมฟิเลีย บี เกิดจากการขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (factor IX) และมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ X-linked recessive
3. ฮีโมฟิเลีย ซี เกิดจากการขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (factor XI) และมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal recessive อ่านเพิ่มเติม  

โรคดักเเด้

     โรคนี้แบ่งความรุนแรงได้ตามลักษณะโครงสร้างของผิวหนัง ดังนี้
        1. Epldermolysis bullosa simplex : เป็นความผิดปกติที่ชั้นหนังกำพร้า (epidermis) ซึ่งเป็นขั้นไม่รุนแรง ส่วนมากจะเกิดในวัยทารก เมื่อมีการเสียดสี กระทบกระทั่ง มีการขัดถูที่ผิวหนัง ก็อาจเกิดเป็นตุ่มน้ำ เมื่อตุ่มน้ำแตกก็เกิดแผล แต่เมื่อแผลหายแล้วจะไม่เป็นแผลเป็น 
        2. Junctional EB : เป็นตุ่มน้ำขึ้นที่ชั้นผิวหนังระหว่างรอยต่อของชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) กับชั้นหนังแท้ (Eermis) หากเป็นในขั้นนี้เมื่อแผลหายแล้วจะไม่เป็นแผลเป็น แต อ่านเพิ่มเติม 

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง เพราะความดันโลหิต จะเป็นแรงผลักดัน ให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนั้นทุกคนควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแร อ่านเพิ่มเติม

การวัดความดันโลหิต

โรคหัวใจ

          อาการโรคหัวใจเป็นอาการที่เกิดกับคนที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ บางอาการก็เป็นอาการจากหัวใจโดยตรง บางอาการก็เกิดจากเลือดไปเลี้ยงอวัยวะไม่พอ ดังอาการ ข้างล่างนี้ แต่อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวก็มิได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคหัวใจเท่านั้น ยังมีโรคอื่นๆที่ให้อาการคล้ายกัน ดังนั้นการที่ แพทย์จะพิจารณาให้การวินิจฉัยนั้น จำเป็นต้องอาศัยประวัติ อาการโดยละเอียด ร่วมกับการตรวจร่างกาย บางครั้งต้องอาศัยการ ตรวจพิเศษต่างๆ  อ่านเพิ่มเติม
แน่หน้าอก

โรตที่เกิดจากการประกอบอาชีพ

         โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพหรือเนื่องจากการท างาน ตามกฎหมายแรงงาน เกี่ยวกับเงินทดแทน ใหค้วามหมายไวว้่าหมายถงึโรคหรอืความเจบ็ ป่วยต่าง ๆ ทเ่ีกดิ ขน้ึ กับผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสกับงานหรืออยู่ในบรรยากาศของการท างานที่เป็นพิษภัย จนเป็น สาเหตุทา ใหส้ ขุ ภาพอนามยัเสอ่ืมโทรมจนเจบ็ ปว่ ยเป็นโรค หรอืพกิ อ่านเพิ่มเติม